นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า 14 ก.ค. 2566 บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ WAVE ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ ส่งเสริมการวิจัย และผลิตบุคลากรด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ ภาคเกษตรกรรม และภาคพลังงาน
โดยเฉพาะการมุ่งเน้นการวิจัยและการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals:SDGs)
WAVEกางแผนยุทธศาสตร์ปี 2566 รุกธุรกิจคาร์บอนเครดิตครบวงจร
วอลล์สตรีทอิงลิช เปิดสาขาแรกเวียงจันทน์ ประเทศลาว คำพูดจาก อันดับ1 เว็บสล็อตตรง
ซึ่งการลงนามความร่วมมือดังกล่าว ประกอบไปด้วยพันธมิตรทั้ง 2 ฝ่าย คือ บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด ลงนามร่วมกับมหาวิทยาลัยสารคาม นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วิจัย และนวัตกรรม (ในฐานะผู้แทนของ รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
ความร่วมมือดังกล่าวจะนำมาซึ่งโอกาสสำหรับบุคลากรของทั้งสองฝ่าย รวมไปถึงนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ การวิจัยด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ ภาคเกษตรกรรม และภาคพลังงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
โดยการที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals:SDGs) นั้น เป้าหมายที่ 13 คือ การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) ซึ่งเป็น 1 ใน 17 เป้าหมายที่ มหาวิทยาลัยฯ ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และยิ่งไปกว่านั้นทาง มหาวิทยลัยฯ ยังได้รับการจัดอันดับจาก Time Higher Education Impact Rankings ในปี 2023 ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 301 – 400 ของโลก ซึ่งนับว่าเป็นความภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก
เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล เอ็มโอยู มหาวิทยาลัยสารคาม จัดตั้งศูนย์ปฎิบัติการก๊าซเรือนกระจกมือโดยร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งงานวิจัยด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ ภาคเกษตรกรรม และภาคพลังงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)